Pich S. McLynch's Blog

Sharing Knowledge about Economics, Financial Market, Logistics, etc.

Derivatives for Tomorrow Examination

Trading in Foreign Exchange (ผมจะพูดถึงแค่ เรื่องนี้เท่านั้น ที่จริงแล้วมี Forward ที่อ้างอิงกับสินค้าอื่นๆอีกหลายอย่าง เช่น ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ตราสารหนี้ ราคาสินค้าเกษตร ฯลฯ)

ตลาดการซื้อขายเงินตราระหว่างประเทศเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่มาก  ซึ่งผู้เล่นในตลาด มีทั้งนักธุรกิจ นักลงทุน นักเก็งกำไร ทั้งรายใหญ่ รายย่อย ซึ่งแต่ละคนมีมุมมองและวัตถุประสงค์ของการซื้อขายที่แตกต่างกันไป  วันนี้ผมเลยอยากเขียนถึงสินค้าสองชนิด ที่คิดว่าจะออกในข้อสอบพรุ่งนี้ ฮา…  นั่นก็คือ Forward และ Swap ครับ  มาดูกันว่ามันคืออะไร  มีลักษณะอย่างไร เขาทำเพื่ออะไร แล้วที่สำคัญที่สุด ที่หลายๆคนสับสนว่าอย่างไหนถึงจะเป็น Premium หรือ Discount

ก่อนที่จะอธิบายต่อไป เราต้องรู้จัก Spot rate กันก่อน Spot rate ก็คืออัตราแลกเปลี่ยน ณ ปัจจุบัน เช่น ปัจจุบันอัตราแลกเปลี่ยน USD/THB เท่ากับ 32.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ  ถ้าเราถือเงินดอลลาร์อยู่ $1000 ไปขอแลกเงินบาทธนาคารเขาแลกเงินดอลลาร์เป็นเงินบาท เราก็ได้เงินบาทมา 32,500 บาท (จริงๆต้องบวกค่าบริการอื่นๆ สุดท้ายมันก็เหลือไม่ถึง 32,500 หรอก)

เข้าใจ Spot rate กันไปแล้ว มาดูเรื่อง Forward rate กัน  Forward rate เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าว่าเราจะซื้อหรือขายสินค้าในอนาคต 30 วัน, 60 วัน หรือ 90 วัน ข้างหน้า ที่อัตราตามที่กำหนด  เช่น

Forward Exchange rate

Spot rate             USD/THB             32.5

30 days                 USD/THB             33

60 days                 USD/THB             33.5

USD/THB             USD/THB             34

ส่วนที่มาของ Forward rate ที่สถาบันการเงินกำหนดนั้น  มาจากการคาดการณ์ปัจจัยหลายๆอย่าง  แต่ผมจะอธิบายถึงปัจจัย Forward rate ที่เกิดจากความแตกต่างกันของอัตราดอกเบี้ยในแต่ละประเทศ เป็นหลักการที่เราเรียกว่า Interest Rate Parity(IRP)  ซึ่งเราเรียนกันแล้วในวิชาเศรษฐศาสตร์เทอมที่แล้วนี่เอง

หลักการก็มีอยู่ว่า  หากอัตราดอกเบี้ยของแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน Forward rate จะเป็นตัวปรับให้ อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในแต่ละประเทศนั้นเท่ากัน

เพื่อไม่ให้เพื่อนๆ งงกับการคำนวณตัวเลข ผมจะยกตัวอย่างเป็นคำพูดดังนี้ครับ  สมมติว่าประเทศไทยมีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่า US  คน US ก็เลยแห่กันมาลงทุนในประเทศไทยกันเพราะได้ผลตอบแทนมากกว่าลงทุนในประเทศ  การจะเข้ามาลงทุนในประเทศไทยจะต้องแลกเงินดอลลาร์เป็นเงินบาทซะก่อนจึงจะลงทุนได้  แน่นอนครับ ถึงจะได้ผลตอบแทนจากการลงทุนในไทยสูงกว่า แต่ก็ยังมีความเสี่ยงในเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ดี  นักลงทุนที่กลัวความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนจึงหาทางลดความเสี่ยงดังกล่าวด้วยการซื้อ Forward เพื่อ Fix อัตราแลกเปลี่ยนที่จะแลกเงินบาทกลับเป็นเงินดอลลาร์   แต่ธนาคารไม่โง่หรอกครับ เขาก็จะตั้ง Forward rate ที่สูงกว่าปกติ หรือเรียกว่าจ่ายราคาที่ Premium ครับ (Ex: 32.5 -> 34 USD/THB) ซึ่งถ้าเป็นไปตามหลักการ IRP แล้ว Forward rate ในการแลกกลับเป็นเงินดอลลาร์ที่สูงขึ้นจะทำให้เงินที่ได้จากการลงทุนในไทย ไม่ได้แตกต่างกับการลงทุนใน US เลย (มาทำไมเนี่ย อยู่ที่ไหนก็ได้เท่ากันอยู่ดี)

สรุปง่ายๆคือ ประเทศไหนที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าก็จะกำหนด Forward rate ในการแลกเงินกลับไปประเทศที่อัตรา Premium แต่ในทางกลับกัน ถ้าอัตราดอกเบี้ยในประเทศต่ำกว่า Forward rate ที่ขาย ก็จะขายกันที่ราคา Discount ดังนั้นการลงทุนในแต่ละที่นั้น ไม่แตกต่างกันเลย (Eugene, p.894)

แต่ถ้าต้องการคำนวณเป็นตัวเลขก็มีสูตรในการหา Forward rate ดังนี้ครับ

Forward exchange rate/Spot exchange rate  =  (1 + rd)/(1+  rf)

rd = อัตราดอกเบี้ยในประเทศ

rf = อัตราดอกเบี้ยในต่างประเทศ

ลองแทนค่ากันดูนะ คำตอบที่ได้จะเหมือนกับด้านบนครับ อย่าเพิ่งงงนะครับ Forward Exchange rate กับ Exchange rate ต่างกันนิดหน่อยตรงที่

ถ้า Forward Exchange rate มากกว่า 1 ถือว่าเป็น Premium

แต่ถ้า Exchange rate เดิม เราเอาเงิน 1 ดอลลาร์แลกเป็นเงินบาทที่ 32.5 บาท แต่ตอนกลับเราเอาเงินบาท 34 บาทแลกคืนได้ 1 ดอลลาร์ อย่างนี้ก็จะเรียกว่านักลงทุนชาว US ต้องจ่ายเงินซื้อคืนที่อัตรา Premium เหมือนกัน ขึ้นกับว่าคุณเป็นนักลงทุนของประเทศไหนนั่นเอง

Forward rate ขอจบเท่านี้ครับ เดี๋ยวขอต่อเรื่อง Swap กัน

สัญญา Swap จะมีสัญญาสองอย่างเกิดขึ้นพร้อมกันคือ สัญญา Spot และ Forward  ความหมายของมันก็คือว่า เราซื้อ(ขาย) ของตอนนี้ที่ราคา x บาท และสัญญาว่าจะขาย(ซื้อ)คืนที่ราคา y บาทในอนาคตข้างหน้า

ผมไม่ขอบอกรายละเอียดด้านการคำนวณนะครับ ผมคิดว่า Swap นี่เมื่อลองศึกษาไปลึกๆแล้ว บอกได้เลยว่ายากมาก มันจะมีเรื่อง Comparative advantage ที่เกิดขึ้นระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย เกิดการตั้งราคาที่แบ่งผลประโยชน์กัน ไม่ขอกล่าวละกัน

สัญญา Swap จะเกิดเมื่อมีผู้ต้องการอัตราผลตอบแทนที่คงที่ กับอีกคนหนึ่งอยากได้ผลตอบแทนที่ลอยตัว แต่ต้นทุนการหาเงินในแต่ละรูปแบบของแต่ละรายมีความแตกต่างกัน

สมมติว่าผมเป็นผู้จัดการกองทุนของสถาบันการเงินแห่งหนึ่งในประเทศไทยต้องการนำเงินไปลงทุนที่ US  ตอนนี้ผมมีเงินเป็นเงินบาท ผมจึงไปตกลงกับธนาคารว่า จะขอทำ Swap ที่อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน (Spot rate) 32.5 บาท และจะขายเงินดอลลาร์คืนที่ Forward rate ในอีก 270 วันข้างหน้าซึ่งสมมติว่าอยู่ที่ 32 บาท บวกค่า Fee อีกนิดหน่อย

การทำ Swap นี้ ทำให้ผมสามารถขจัดความเสี่ยงในเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยนไปได้ทั้งหมด เหลือแต่ความเสี่ยงจากการลงทุน ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับประเทศที่ไปลงทุนเท่านั้นครับ สบายตัว…

ผมขอกล่าวไว้เท่านี้ก่อนก็แล้วกัน คงช่วยให้เข้าใจขึ้นบ้าง(คาดว่านะ)  ถ้าเพื่อนๆงงตรงไหนลอง Comment มา  หรือโทรมาถามเราโดยตรงเลยก็ได้  เพราะงานนี้เราเขียนจากความเข้าใจของเราเอง อาจมีตรงส่วนไหนผิดพลาด จะได้รีบแก้ไข  ไม่งั้นเดี๋ยวคนอื่นอ่านจะเข้าใจผิดกันไปใหญ่  สำหรับการสอบในพรุ่งนี้ขอให้ทุกๆคนตั้งใจทำให้เต็มที่นะครับ อาจเป็นครั้งสุดท้ายของใครบางคน ปล่อยเขาไป เรามาพยายามกันต่อปายย…  เป็นกำลังใจให้ทุกๆคนค้าบ

17 Comments»

  tongtonktonk wrote @

ขอบพระคุณค่ะ
^^

Like

  pim wrote @

อธิบายได้เข้าใจและเห็นภาพมากค่ะ
Thanks

Like

  9009 wrote @

พรุ่งนี้มีสอบเลยแวะมาลองเซิร์ชหาในกูเกิ้ลดู อ่านเรื่อง swap จากเว็บอื่นไม่ค่อยเข้าใจเลย เจอเว็บนี้ช่วยได้มากเลยคะ

Like

  soonsap wrote @

ยินดีมากๆครับ เดวสัปดาห์นี้จะอัพเรื่อง อนุพันธ์ แวะเข้ามาอ่านได้คับ

Like

  may wrote @

อยากทราบการคำนวน หา risk and return on carry trade อ่ะคะ

Like

  soonsap wrote @

ผมลองเขียนคำตอบไว้ในโพสล่าสุดนะคับ เรื่อง Risk and Return in Carry Trade ไม่แน่ใจว่าจะช่วยได้รึเปล่า ลองอ่านดูนะคับ

Like

  Risk and Return in Carry Trade « Pich's Blog wrote @

[…] IRP (ผมเคยเขียนอธิบายเรื่องนี้ใน Post “Derivatives for Tomorrow Examination”) ix,t-1 – iy,t-1 = Ŝt เสมอ ดังนั้น πt = […]

Like

  snoopy wrote @

เยี่ยมยอดค่ะ เข้าใจง่ายมากๆ

Like

  Flex 20 Sec1 NIDA wrote @

พอดีขาดเรียนวันที่อาจารย์สอนเรื่องนี้ แ้ล้ว search หาข้อมูลจากอากู๋ มาเจอเรื่องที่พี่เขียน อ่านแล้วเข้าใจขึ้นมากๆ เลยค่ะ ^^ ขอบคุณนะคะ

Like

  soonsap wrote @

ยินดีมากๆครับ 🙂

Like

  ADV wrote @

ขอบคุณมากนะครับ เรื่อง IRP ที่พี่เขียน ผมไม่เข้าใจสักที่ที่อ่าน พอดีจะสอบแล้วมาsearchเจอของที่พี่เขียน มันเห็นภาพและเข้าใจได้ทันทีเลยครับ ขอบคุณมากๆเลยนะครับ

ปล จริงๆยังมีอีกสามตัวที่ผมไม่ค่อยเข้าใจในรายละเอียด ถ้าจะรบกวนให้ลองลงบทความบ้างได้ไหมครับ เรื่อง Fisher Effect กับ Unbiased Forward Rate ครับ ขอบคุณมากครับ

Like

  soonsap wrote @

ขอบคุณมากครับ ไว้พี่จะพยายามสรุปเรื่องที่น้องอยากรู้เข้าไปให้ครับ

Like

  Nam wrote @

แล้ว swap กับ swap rate มันต่างกันไหมอะคะ คือว่าอาจาย์ให้นั่งแปล เรื่องพวกนี้อะคะ ไม่เข้าใจเลย อยากปรึกษามากๆ ถ้าเป็นไปได้อยากขออีเมลเพื่อปรึกษาบ้างได้ไหมคะ ถ้าไม่เป็นการรบกวนเกินไป ขอบคุณมากคะ

Like

  soonsap wrote @

Email อยู่ในหน้า My Info ครับ
ลองส่งคำถาม + กับเนื้อความบางส่วนติดมาด้วย กลัวว่าเดี๋ยวผมจะเข้าใจคำถามผิดเหมือนกัน ไม่ต้องเกรงใจครับ แต่กลัวว่าอาจจะตอบช้าไปไม่ทันส่ง – -“

Like

  anna wrote @

กำลังศึกษาและทำ Metadata เกี่ยวกับเรื่องนี้พอดี ช่วยได้มากเลยค่ะ ….Thank you…

Like

  Littlepig Lusciouss wrote @

ขอบคุณครับ
อยากรู้เรื่อง การตั้งราคาที่แบ่งผลประโยชน์กันของสัญญาSWAP เพิ่มเติม สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ไหนครับ

Like

  soonsap wrote @

ผมว่าหนังสืออาจจะไม่ได้มีเขียนรายละเอียดพวกนี้นะครับ แนะนำว่าหาเพื่อนที่ทำในสายงาน Treasury หรือ Trade FX ดูครับ น่าจะอธิบายได้เห็นภาพมากกว่า

Like


Leave a reply to may Cancel reply